ทิ้งทัศนคติแบบนี้ไปถ้านักศึกษาจบใหม่อยากประสบความสำเร็จ

ทิ้งทัศนคติแบบนี้ไปถ้านักศึกษาจบใหม่อยากประสบความสำเร็จ
ทิ้งทัศนคติแบบนี้ไปถ้านักศึกษาจบใหม่อยากประสบความสำเร็จ



เมื่อโลกการทำงานไม่เป็นดังฝัน นักศึกษาจบใหม่มักจะยอมแพ้ แล้วล้มเลิกเป้าหมายไปได้โดยง่าย ไม่ลาออกเปลี่ยนงานใหม่ ก็ทำงานซักกะตายไปวัน ๆ เพราะเริ่มสะสมทัศนคติในแง่ลบ แต่ถ้าลองละทิ้งทัศนคติที่ไม่ดีเหล่านั้นออกไป ลองพยายามดูอีกสักครั้ง นักศึกษาจบใหม่อาจจะพบว่าโลกการทำงานในฝันของตนเอง มันก็ไม่ได้ยากเกินความจริง จะเปลี่ยนโลกได้ก็ต้องเปล่ยนที่เราก่อน มาตรวจสอบกันดูเถอะว่านักศึกษาจบใหม่มีทัศนคติแบบนี้หรือเปล่า ถ้ามี ถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว


1. ยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ


นักศึกษาจบใหม่อาจจะบอกกับตัวเองว่าการทำงานโดยยึดตามรูปแบบเดิม ๆ ไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะใคร ๆ เขาก็ทำกัน แต่การยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ โดยไม่สนใจศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ นอกเหนือจากสิ่งที่เราสนใจใจ หรือสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบอยู่ ทั้งในเรื่องงานและเรื่องราวรอบตัวคุณจะทำให้เกิดความเสียเปรียบให้กับคนอื่น เพราะในขณะที่คนอื่น ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เราจะไม่พัฒนาไปไหน

ถ้าเราไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ก็เหมือนกำลังย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าไปไหน ก้าวออกมาจาก Comfort Zone แล้วแสวงหาทักษะในการทำงานใหม่ ๆ ที่จะกระตุ้นให้คุณเกิดความคิดสร้างสรรค์และช่วยพัฒนาการทำงานของคุณให้สามารถแข่งขันกับคนอื่น ๆ ได้


2. คิดในแง่ลบ


การมีทัศนคติแง่ลบในการมองโลกไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น การกังวลไปกับทุกสิ่งทุกอย่าง หรือมองว่าทุกอย่างเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม

ในบางครั้งยังส่งผลให้นักศึกษาจบใหม่เป็นคนคิดมาก จับยจด และคิดล่วงหน้าไปแล้วด้วยซ้ำว่าสิ่งไม่ดีทั้งหลายอาจเกิดขึ้นได้ กลายเป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ หากมีปัญหาเกิดขึ้น ให้คุณตั้งสติ แล้วค่อยประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ ทิ้งเรื่องไม่ดีที่เป็นแง่ลบ หรือจำไว้เป็นบทเรียน เลือกมองและให้ความสนใจแต่ในสิ่งที่เป็นเรื่องที่ดี ๆ เท่านั้น


3. ขาดความขยันหมั่นเพียร


การที่นักศึกษาจบใหม่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามสายอาชีพต้องใช้ทักษะความสามารถและความรู้จากการฝึกฝนและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บางคนเรียนรู้งานที่พวกเขาต้องทำในแต่ละวันอย่างขยันขันแข็ง แต่คนบางประเภทมัวแต่เฝ้าฝันถึงวันที่พวกเขาจะมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ไม่แสวงหาความรู้ ไม่พัฒนาตนเองในปัจจุบัน ถ้าคุณต้องการที่จะประสบความสำเร็จ คุณต้องวิ่งเข้าหาโอกาสไม่ใช่รอให้โอกาสเข้าหาคุณ


4. ถอดใจง่าย ๆ


เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับ นักศึกษาจบใหม่เมื่อต้องพบเจอกับอุปสรรคในการทำงาน บางคนเลือกที่จะล้มเลิกในสิ่งที่พวกเขาต้องการในตอนแรก เพียงเพราะพวกเขาประเมินความสามารถของตัวเองต่ำเกินไป และคิดว่าไม่มีวันที่จะทำในสิ่งที่ยากหรือท้าทายได้

ถ้าแม้แต่ตัวเราเองยังคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ แล้วใครจะเชื่อในตัวคุณ ความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานจะต้องเจอ แต่เราเลือกได้ที่จะล้มเหลวล้วหยุดอยู่แค่นั้น หรือล้มเหลวแล้วลุกขึ้นใหม่ แก้ไข แล้วเดินต่อไปข้างหน้า ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จเมื่อไร อย่างไรแม้แต่บุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลกก็ล้วนต้องผ่านอุปสรรค ผ่านช่วงที่ท้อแท้ในการเผชิญกับปัญหามาแล้วทั้งนั้น แต่พวกเขาเลือกที่จะลุกขึ้นและก้าวต่อจนประสบความสำเร็จ

หากคุณตกอยู่ในห้วงของความสิ้นหวังจงลุกขึ้นมาและก้าวต่อไป ลองมองเส้นทางสู่ความสำเร็จของคุณให้เหมือนกับการเขียนหนังสือหนึ่งเล่ม ที่ต่อให้เป็นงานเขียนของนักเขียนที่มีชื่อเสียง หรือนักเขียนหน้าใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก ทุกคนต่างก็ต้องเริ่มต้นด้วยหน้ากระดาษเปล่า ๆ เหมือนกัน ถ้าคนอื่นทำได้ คุณก็ทำได้เช่นกัน


5. ให้ความสำคัญผิด


นักศึกษาจบใหม่อยากที่จะประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว และมีความสนใจที่หลากหลาย ทำให้ต้องทำหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน  การเสียเวลาไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายในระยะยาวของคุณ อาจทำให้เส้นทางสู่ความสำเร็จของคุณต้องหยุดชะงักลง และคุณอาจจะไม่มีวันได้พบกับความสำเร็จ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่จะทำให้คุณไม่หลงทางขณะก้าวไปสู่เป้าหมายที่สำคัญในชีวิต ในขณะเดียวกันคุณก็ต้องรู้ว่าจะต้องตั้งเป้าหมายอย่างไร และให้ความสำคัญกับสิ่งไหนก่อน

ลองให้เวลากับตัวเองทบทวนดูว่าเป้าหมายในชีวิตที่สำคัญกับคุณอย่างแท้จริงคืออะไร คุณมีความสุขกับงานที่ทำหรือเปล่า หรือสิ่งที่ทำอยู่ในวันนี้ตอบโจทย์เป้าหมายในอนาคตของคุณได้หรือไม่ ถ้าหากคำตอบคือไม่ คุณต้องเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนเป้าหมาย แสวงหาสิ่งที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง เพื่อให้ตัวคุณเองเขยิบไปใกล้เป้าหมายที่คุณต้องการมากขึ้นอีกหนึ่งก้าว



6. จำกัดศักยภาพของตัวเอง (โดยไม่รู้ตัว)



ไม่มีใครจะรู้ศักยภาพของตัวคุณเองดีไปกว่าตัวคุณ แต่ทว่าในบางครั้งเมื่อคุณได้เจอปัญหาที่ท้าทายจนทำให้คุณเกิดความไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ตัวคุณเองนั่นแหละที่อาจเป็นผู้ฉุดรั้งและตีกรอบความสามารถของตัวเองว่า “ฉันทำสิ่งนี้ไม่ได้” หรือ “สิ่งนั้นอยากเกินไปสำหรับความสามารถของฉัน” นาน ๆ เข้าคุณก็จะไม่กล้าทำในสิ่งที่คุณไม่มั่นใจว่าจะทำได้ ทั้งที่จริงแล้วคุณอาจะมีศักยภาพเพียงพอสำหรับสิ่งนั้น แต่กลายเป็นตัวคุณเองที่ปิดประตูสู่โอกาสในการก้าวหน้าของตัวคุณ





ที่มา:
https://blog.jobthai.com/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม